วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การต่อสายแลนแบบไขว้

การเข้าหัว RJ 45 แบบสายไขว้

 

หลักการและทฤษฎี
   การเลือกมาตรฐานแบบใดแบบหนึ่งเป็นหัวข้างหนึ่ง ส่วนหัวอีกข้างหนึ่งก็เป็นอีกมาตรฐานหนึ่ง อาจเริ่มต้นด้วยแบบ T568A แล้วอีกข้างเป็น T568B หรือสลับกันก็ได้ โดยหัวทั้งสองข้างต้องเรียงสายไม่เหมือนกัน ใช้ในลักษณะการเชื่อมต่อแบบ PC สู่ PC, PC สู่ Router, HUB สู่ HUB
มาตรฐาน EIA/TIA 568
     EIA/TIA 568 เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยความร่วมมือของ 3 องค์กร ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานแห่งสหรัฐอเมริกา ( American National Standards Institute : ANSI ) , สมาคม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Industries Association : EIA ) และสมาคม อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ( Telecommunications Industry Association : TIA ) โดยใช้ชื่อ มาตรฐานว่า “EIA/TIA 568” ใช้ในการเข้าหัว RJ-45 และสาย UTP
 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้

1. สาย CAT5 (สายแลน) ตามความยาวที่ต้องการ แต่ไม่ควรเกิน 100 m.

2. คีมเข้าหัว RJ-45

3. หัว RJ-45 ใช้สองหัว ต่อหนึ่งเส้น

 วิธีการเข้าหัวกัน

1. ปลอกเปลือกนอกของสาย CAT5 ออก โดยห่างจากปลายสายประมาณ 2-3 cm.
ใช้คัตเตอร์หรือมีดปลอกเปลือกที่มากับคีม

ระวังอย่าให้สายข้างในขาด สายภายในจะเป็นเกรียวกันเป็นคู่ สี่คู่ สี่สี

2. คลายเกรียวออกทั้งหมด

 3. จับเลียงลำดับสายใหม่ดังนี้
         -  สายครอส ให้เรียงตามนี้ข้างหนึ่ง (สำหรับต่อคอมกับคอม)
ขาวเขียว เขียว ขาวส้ม ฟ้า ขาวฟ้า ส้ม ขาวน้ำตาล น้ำตาล   และอีกข้างหนึ่ง  ขาวส้ม  ส้ม ขาวเขียว ฟ้า ขาวฟ้า เขียว ขาวน้ำตาล น้ำตาล


4. หลังจากเรียงสายเรียบร้อยแล้ว จับสายที่เรียงให้แน่น อย่าให้สลับ
แล้วสอดเข้าหัว RJ-45 ให้สุดปลอก




ดูว่าสายทุกสีเข้าจนสุดปลอกแล้ว



5. นำสายพร้อมปลอกเข้าคีมแล้วบีบสุดแรงเกิด

***** เสร็จเรียบร้อยแล้ว ******

การเชื่อมต่อแบบบัส (BUS TOPOLOGY)

       
        การเชื่อมต่อแบบบัส (BUS TOPOLOGY) เป็น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS หรือ TRUNK ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้

     ข้อดี ของ การเชื่อมต่อแบบนี้คือ ใช้สายสัญญาณน้อย และเชื่อมต่อได้ง่าย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทั้งสายสัญญาณ การติดตั้งและการบำรุงรักษา สามารถเพิ่มโหนดได้ง่าย เพราะมีโครงสร้างแบบง่าย มีความเชื่อถือได้ เพราะใช้สายสัญญาณหลักเพียงเส้นเดียว
     ข้อเสีย คือ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด จะหาจุดตรวจสอบได้ยาก เพราะไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง และในกรณีที่ สายสัญญาณบัสเกิดชำรุดเสียหาย ระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้